Gelatin 250 Bloom (China) / เจลาติน 250 บูม (จีน)
เจลาติน ได้จากการแปรรูปคอลลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนธรรมชาติที่มีอยู่ในกระดูก หนังสัตว์ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของสัตว์ เช่น ควาย หมู วัว ปลา แต่ที่นิยมนำมาทำเจลาตินมากคือหนังหมู เจลาติน (E441) ที่ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) เมื่อนำเจลาตินผสมในน้ำและให้ความร้อน จะเป็นของเหลวหนืด เจลาตินใช้ในหลายวงการมาก เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง และฟิล์มถ่ายรูป แต่อุตสาหกรรมอาหาร ถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเจลาติน ตลาดที่ใหญ่รองลงมาคืออุตสาหกรรมการผลิตยาโดยใช้เจลาตินในการเคลือบเม็ดยาและผลิตเป็นแคปซูล
เจลาตินที่ใช้ผสมในอาหารได้หลายวัตถุประสงค์ดังนี้
1. ใช้เป็นสารที่ทำให้เกิดเจล ที่คืนตัวเป็นของเหลวได้เมื่อได้รับความร้อน ยกตัวอย่างเช่นมู้สเค้กที่เซ็ทตัวดีให้ความรู้สึกนุ่มเบา ละลายในปาก เพราะอุณหภูมิของร่างกายใกล้เคียงจุดละลายของเจลาติน 2. ใช้เป็นสารที่ทำให้เกิดความคงตัว (Stabilizer) เป็นอิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier) ทำให้น้ำกับไขมันรวมตัวกันได้ดี ไม่แยกชั้น 3. ใช้ทดแทนไขมัน 4. ใช้สำหรับการจับและเก็บรักษากลิ่นรส 5. ใช้เคลือบผิวเพื่อรักษาความชุ่มชื้นเช่น แฮม ขนมเค้ก
คุณสมบัติของเจลาตินที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารชนิดต่างๆ จะแตกต่างกันไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ใช้และการใช้งาน แต่โดยปกติแล้วเจลาตินมีความแข็งของเจลอยู่ที่ 80 ถึง 280 บลูม (Bloom) และมีความหนืดอยู่ที่ 20 ถึง 45 mps ในกรณีของขนมมาร์เมลโล หรือ เยลลี่ จะใช้เจลาตินมากกว่า 200 บลูม
ด้วยคุณสมบัติที่มีความนุ่ม ยืดหยุ่น และความสามารถในการค่อยๆละลายในปากจึงทำให้เจลาตินกลายเป็นส่วนประกอบในอาหารที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ใน เยลลี่ ชอคโกแล็ต หมากฝรั่ง กัมมี่ และของหวานชนิดอื่นๆ อีกมากมาย ประกอบกับคุณสมบัติที่สามารถก่อให้เกิดเป็นโฟมและความทนต่อแรงตึงผิวอย่างเป็นเลิศจึงทำให้มีการนำมาใช้เป็นส่วนประกอบใน มาร์ชเมลโล (Marshmallow) ท๊อฟฟี่ (Toffee) และ ซูเฟล (Souffles) และด้วยคุณสมบัติยึดเกาะที่เหนียวมากจึงช่วยเป็นตัวประสาน (Binder) ในแฮมและไส้กรอกได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเจลาตินยังเป็นส่วนประกอบของอาหารประเภทอื่นๆ เช่น ไอศกรีม น้ำผลไม้ ไวน์ และอาหารอื่นๆอีกมากมาย